สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ hongkrunan.in.th แหล่งการเรียนรู้ออนไลน์วิชาวิทยาการคำนวณ
สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ hongkrunan.in.th แหล่งการเรียนรู้ออนไลน์วิชาวิทยาการคำนวณ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 แนวคิดเชิงคำนวณ
แนวคิดการแยกส่วนประกอบและการย่อยปัญหา
แนวคิดการแยกส่วนประกอบและการย่อยปัญหา
(Decomposition)
เป็นวิธีคิดรูปแบบหนึ่งของแนวคิดเชิงคำนวณ เป็นการพิจารณาเพื่อแบ่งปัญหาหรืองานออกเป็นส่วนย่อย ทำให้สามารถจัดการกับปัญหาหรืองานได้ง่ายขึ้น หรือการแตกปัญหาใหญ่ให้เป็นปัญหาย่อยที่มีขนาดเล็กลง เพื่อให้สามารถเข้าใจและจัดการกับปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่างเช่น การเขียนโปรแกรมแยกเป็นส่วน ๆ แยกเป็นแพ็กเกจ แยกเป็นโมดูลหรือมองเป็น layer หรือการแบ่งปัญหาเมื่อจะแก้ไขอุปกรณ์ เช่น การแยกส่วนประกอบของพัดลม แบ่งเป็นใบพัด มอเตอร์ ตะแกรงหน้า ขอบตะแกรง ฝาครอบ ฐานพัดลม เป็นต้น หรือ การแยกส่วนประกอบของรถจักรยาน แบ่งเป็น ล้อหน้า ล้อหลัง หลังอาน โซ่ โช๊ค แฮนด์ มือเบรก เป็นต้น ถ้ามองในรายละเอียดของล้อจักรยานจะเห็นว่าประกอบด้วย ยางล้อ วงล้อ และซี่ลวด หรือถ้าพิจารณาชุด ขับเคลื่อนก็จะพบว่าประกอบด้วยเฟือง โซ่ และบันได เป็นต้น
กรณีตัวอย่างการแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย (Decomposition)
ตะวันขับรถยนต์ออกไปทำงานในตอนเช้าแต่พบว่ารถยนต์ของตนเองไม่สามารถเดินทางถึงที่ทำงานได้ ซึ่งตะวันคิดว่าปัญหาอาจมีสาเหตุมาจาก 2 ประเด็น ได้แก่ ยางแบนหรือน้ำมันรถยนต์ใกล้จะหมดหากตะวันใช้แนวคิดเชิงคำนวณเข้ามาช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจะสามารถแก้ปัญหาได้ ดังนี้
⭐ตะวันสามารถแยกย่อยปัญหารถยนต์ไม่สามารถเดินทางถึงที่ทำงานได้เป็น 2 ประเด็น ดังนี้
🧩 ยางแบน
🧩 น้ำมันรถใกล้จะหมด
การแยกส่วนประกอบนั้น ไม่ได้ทำเฉพาะกับวัตถุหรือสิ่งของเท่านั้น แต่ยังสามารถทำได้กับกระบวนการและขั้นตอนวิธีด้วย เช่น การเดินทางมาโรงเรียน อาจเดินทางด้วยการเดินเท้า การเดินทางด้วยรถจักรยาน หรือการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์
ตัวอย่างเช่น
การเดินทางจากโรงเรียนไปห้างสรรพสินค้า
ก็อาจแบ่งขั้นตอนย่อยได้ 3 ขั้นตอน
1. การเดินทางจากโรงเรียนไปยังรถประจำทาง
2. การเดินทางจากรถประจำทางไปยังป้ายรถประจำทางที่ใกล้ห้างสรรพสินค้า
3. การเดินทางจากป้ายรถประจำทางที่ใกล้ห้างสรรพสินค้าไปห้างสรรพสินค้า
⭐⭐⭐⭐⭐⭐