สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ hongkrunan.in.th แหล่งการเรียนรู้ออนไลน์วิชาวิทยาการคำนวณ
สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ hongkrunan.in.th แหล่งการเรียนรู้ออนไลน์วิชาวิทยาการคำนวณ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
แนวคิดเชิงคำนวณในการพัฒนาโครงงาน
มีกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ระบบสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
ซึ่งเรียกวงจรนี้ว่า วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC) แบ่งกระบวนการพัฒนาออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้
1.การวางแผน (Planning)
คือ ขั้นตอนการสำรวจความต้องการของผู้ใช้ระบบและนำมาวิเคราะห์เพื่อค้นหาโครงงานพัฒนาระบบที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ จากนั้นคัดเลือกโครงงานที่เหมาะสม ศึกษาความเป็นไปได้ และวางแผนการดำเนินงาน
มีขั้นตอนดังนี้
คือ การประชุมทีมงานผู้พัฒนา เป็นการกำหนดหน้าที่ กำหนดลักษณะการทํางาน กำหนดข้อตกลงการทํางานต่าง ๆ แก่ทีมงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
เป็นการศึกษาวิเคราะห์และจัดทำเอกสารของโครงงาน โดยนำแนวคิดเชิงคำนวณเข้ามาช่วยในการพัฒนาโครงงานเพื่อให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย
เป็นขั้นตอนการจัดทำแผนการดําเนินงาน ซึ่งหลังจากกําหนดแผนการดําเนินงานแล้ว จะต้องนําเสนอต่อผู้บริหารเพื่อพิจารณาเป็นลําดับต่อไป
2.การวิเคราะห์ (Analysis)
คือ ขั้นตอนการทำความเข้าใจกับระบบงาน จะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลของปัญหาและความต้องการต่าง ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาขอบเขตของฟังก์ชันงานในระบบงานใหม่ ซึ่งมีขั้นตอนย่อย ดังนี้
ลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ใช้งานเพื่อเก็บข้อมูล ซึ่งควรจัดทีมงานในการสัมภาษณ์อย่างน้อย 2 คน ขึ้นไป เพื่อให้เก็บข้อมูลได้อย่างครบถ้วน
นําข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ปัญหาและสาเหตุของปัญหาจากระบบงานเดิม ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดของระบบงานใหม่ ความต้องการของระบบงานใหม่ กระบวนการทำงานของระบบงานใหม่ และความเกี่ยวข้องกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบงานใหม่
การกำหนดขอบเขตการพัฒนาระบบงานใหม่ โดยกำหนดว่าจะดําเนินการทำอะไรบ้าง ระบบงานใหม่มีฟังก์ชันและมีข้อจำกัดอะไรบ้าง
การวิเคราะห์เพื่อหากระบวนการทำงานว่าประกอบไปด้วยกระบวนการทำงานย่อยอะไรบ้าง พร้อมจัดทำแผนภาพบริบทและแผนภาพกระแสข้อมูล
3.การออกแบบ (Design).
คือ ขั้นตอนการกำหนดวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ จากขั้นตอนการวิเคราะห์ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะกำหนดขั้นตอนการทำงานของระบบด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
คือ เครื่องมือในการแสดงขั้นตอนหรือกระบวนการทํางาน โดยใช้สัญลักษณ์และลูกศรเพื่อแสดงการไหลของข้อมูลภายในระบบการทํางาน
คือ แบบจำลองที่อธิบายโครงสร้างและความสัมพันธ์ของข้อมูล เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
คือ เครื่องมือที่ช่วยในการจัดเก็บรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่
ทําให้สามารถค้นหารายละเอียดที่ต้องการได้สะดวก
คือ หน้าจอที่ใช้แสดงข้อมูลบางส่วนสําหรับผู้ใช้งาน
4.การพัฒนาและติดตั้ง (Implementation)
คือ ขั้นตอนการสร้างระบบ โดยการเขียนโปรแกรมเพื่อพัฒนาระบบ และทำการทดสอบระบบในสภาพแวดล้อมจำลองและสภาพแวดล้อมจริง จากนั้นติดตั้งระบบด้วยการนำซอฟต์แวร์และระบบงานใหม่ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วมาติดตั้งในสภาพแวดล้อมการทำงานจริง
5.การบำรุงรักษา (Maintenance)
คือ ขั้นตอนการดูแลระบบต่าง ๆ เช่น การแก้ไขปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้งานในสภาพแวดล้อมจริงการเพิ่มเติมความสามารถของระบบงานและการปรับเปลี่ยนการทำงานบางประการให้ทันสมัยมากขึ้น
การเขียนรายงานพัฒนาโครงการ
หลังจากทำการพัฒนาโครงงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) แล้ว จะนำกระบวนการและผลงานมานำเสนอในรูปแบบของรายงาน โดยมีองค์ประกอบ 3 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้
Google Classroom การจัดทำโครงงาน